มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สรุปผลการดำเนินการโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ประจำปี ๒๕๕๙

4,942

โครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ประจำปี  ๒๕๕๙

โดย    กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยเท่านั้น ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พระบัณฑิต นิสิตและนักเรียนของมหาวิทยาลัยออกไปบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ พระศาสนา ในระหว่างปิดภาคการศึกษา โดยจัดให้มีโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ เป็นต้นมา โดยการอบรมเยาวชน ประชาชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักศีลธรรม  และสามารถนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการห่างไกลอบายมุข  สิ่งเสพย์ติดทุกประเภท  เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้พระนิสิตได้ฝึกประสบการณ์การทำงานเพื่อสังคมและพระพุทธศาสนาโดยการประยุกต์พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคมตามอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย และนำไปสู่การผลิตบัณฑิตตามอัตลักษณ์บัณฑิตที่กำหนไว้ คือ “มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา”

ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี ร่วมกับ วิทยาเขต คณะ วิทยาลัย ห้องเรียน และหน่วยวิทยบริการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยมีจำนวนโครงการที่เสนอเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๔๕๒ โครงการ ประมาณการผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๙๖,๓๙๘ รูป/คน ในพื้นที่ ๕๑ จังหวัดทั่วประเทศ และในต่างประเทศ ๔ โครงการ

๑.๒ วัตถุประสงค์

๑. เพื่ออบรมเยาวชนให้มีความรู้ดี ประพฤติดี ตามหลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนา

๒. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีงานของชาติ

๓. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักหน้าที่ มีระเบียบวินัย ใฝ่ใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ รู้จักโทษของอบายมุขและยาเสพติด

๑.๓ ผลการดำเนินงานตามโครงการ

ในการตรวจเยี่ยมหน่วยอบรมหัวหน้าหน่วยโครงการและการเข้าไปตรวจเยี่ยมโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนและ ที่เข้ารวมกิจกรรมได้สงเกตและสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มสามเณรและเยาวชนที่มีศรัทธาในการบวช มีผลพฤติกรรมของเยาวชน ทำให้สามารถศึกษาความคิดเห็นของเยาวชนที่บวชในโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปี ๒๕๕๙  ผลการดำเนินงานโครงการฯ พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๔๕๒ โครงการ ประมาณการผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ๙๖,๓๙๘ รูป/คน ในพื้นที่ ๕๑ จังหวัดทั่วประเทศ และในต่างประเทศ ๔ โครงการ ในการดำเนินงานกองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี ได้มีการจัดการสัมมนาหัวหน้าหน่วยอบรมเพื่อกำหนดกรอบในการบริหารโครงการและหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมให้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดสัมมนาหัวหน้าหน่วยอบรมโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ต้านยาเสพติด ประจำปี ๒๕๕๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ภูมิพลอดุลยเดช และ    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ จำนวน ๔๕๒ แห่ง ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การจัดสัมมนาครั้งนี้เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติในการจัดโครงการฯให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและรับฟังนโยบายจากผู้บริหารของมหาวิทยาลัย

การจัดโครงการดังกล่าวฯ มีกองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้กำกับดูแลและอำนวยความสะดวกให้แด่หัวหน้าหน่วยที่เข้าร่วมอบรมสัมมนา โดยลำดับพิธีการได้เริ่มขึ้นในเวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นพิธีเปิดโครงการฯ โดยมี      พระราชวรมุนี,ดร. (พล อาภากโร ป.ธ.๙) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต และรองเจ้าคณะภาค ๖ เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และเปิดงาน โดยมีพระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี ได้ถวายรายงานว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย โดยจัดการศึกษาพระพุทธศสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม ตามปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยที่ต้องการให้ศึกษาพระไตรปิฏก และวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ทั้งศิษย์ปัจจุบัน และ ศิษย์เก่าของ มจร ได้ออกไปบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ ซึ่งการจัดโครงการบรรพชาสามเณรและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนนี้ ได้เริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๓  เป็นต้นมาเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย ให้เป็นคนดีมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ เป็นเยาวชนที่มีความรู้ และมีความประพฤติดีงามตามหลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักหน้าที่ มีระเบียบวินัย ใฝ่ใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ และเพื่อให้เยาวชนได้รู้จักโทษ รวมไปถึงวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด อันเป็นภัยอันตรายระดับชาติ ในปัจจุบันนี้

พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต กล่าวต่ออีกว่า ในการจัดอบรมสัมมนาในครั้งนี้ มีหัวหน้าหน่วยโครงการฯ ที่แจ้งความประสงค์ จะขับเคลื่อนตามนโยบายของ มจร แล้วถึง ๔๕๒  แห่งจากทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเชิงปริมาณของผู้ที่จะเข้าอบรมในโครงการฯ มีจำนวน ดังนี้

(๑) สามเณร จำนวน ๓๓,๖๑๒รูป

(๒) เยาวชน จำนวน ๑๖,๙๔๑ คน

(๓) ประชาชนทั่วไป จำนวน ๓๓,๑๕๖ คน

วัตถุประสงค์ในการจัดการอบรมสัมมนาหัวหน้าหน่วยโครงการฯ ครั้งนี้ เพื่อให้หัวหน้าหน่วยมีเทคนิคในการอบรมเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมกันวางแผนในการพัฒนาการอบรม พัฒนาทีมงานพระวิทยากร ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการอบรม เด็กและเยาวชนผู้เข้ารับการอบรมก็จะเป็นคนดีของสังคม ช่วยกันสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา และพัฒนาประเทศชาติสืบไป

การเปิดโครงการและบรรยายพิเศษ โดยพระราชวรมุนี,ดร. (พล อาภากโร ป.ธ.๙) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองเจ้าคณะภาค ๖ ได้กล่าวเปิดงานว่า ต้องขออนุโมทนาขอบคุณทุกรูปที่ได้เสียสละทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา เป็นพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม และได้ฝากข้อคิดความเห็นให้หัวหน้าโครงการฯต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ๔ ข้อ คือ

(๑) มีความรู้ดี

(๒) มีความประพฤติเป็นตัวอย่าง

(๓) มีทักษะชีวิต

(๔) มีจิตสาธารณะ

ทำอย่างไรโครงการฯ จึงจะมีศาสนทายาทเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ต้องคิดใหม่ทำใหม่กำหนดกุศโลบาย สร้างรากแก้วหน่อแก้วของพระพุทธศาสนา ทำให้เด็กมาอยู่กับเรามีพฤติกรรมเปลี่ยนให้ได้ ปลูกศรัทธาผู้ปกครอง อาจใช้ภาษาอังกฤษสอนให้ลูกเณรแผ่เมตตาเป็นภาษาอังกฤษ นำศีล ๕ มาประยุกต์ในโครงการสอนงานคณะสงฆ์ อย่างน้อยที่สุดกิจกรรมสำคัญคือ ทำวัตร บิณฑบาต ปัดกวาดเสนาสนะ บริหารศรัทธาทำให้ชาวบ้านมั่นใจได้ว่า พระสงฆ์พระเณรมีประโยชน์กับสังคม

ภาคบ่ายพระเดชพระคุณพระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร. รองอธิการดีฝ่ายวิชาการ ได้บรรยายให้ความรู้หัวหน้าหน่วยอบรมว่า ต้องขอบคุณและอนุโมทนากับทุกท่านที่เสียสละทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาและช่วยพัฒนาสังคม การบริการวิชาการแก่สังคมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยผมพูดอยู่ประจำเมื่อมีโอกาสใน ๓ เรื่องสำคัญ คือ

(๑) การปฏิบัติศาสนกิจ

(๒) ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

(๓) โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

ซึ่งผมทราบว่ามีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในวันนี้กล่าวโดยเฉพาะเรื่องบทบาทพระสงฆ์กับการคาดหวังของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน ผมมีข้อคิดความเห็นใน ๗ ประเด็นสำคัญ

(๑) พระสงฆ์สามารถตอบคำถามข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับหลักธรรมคำสอน

(๒) เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรทางพระพุทธศาสนา

(๓) เป็นคนกลางให้กับชาวบ้าน

(๔) มีสถานที่ปฏิบัติธรรมและนำปฏิบัติได้

(๕) เป็นที่พึ่งในการให้การอบรมลูกหลานชาวบ้าน

(๖) แก้ปัญหาต่างๆให้กับชุมชน และ

(๗) ให้การศึกษาแก่ลูกหลานชาวบ้าน ฝากทุกท่านนำไปต่อยอดและกำหนดทิศทางการทำงานให้ตรงกับความคาดหวังของชาวบ้านและการจัดโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนฯก็จะเป็นประโยชน์กับพระพุทธศาสนาและสังคม

หลังจากนั้นหัวหน้าหน่วยอบรมได้รับการแนะนำเทคนิควิธีการอบรมเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพระมหาวิชาญ สุวิชาโน ผู้อำนวยการส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรมและทีมงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แนะนำเทคนิควิธีที่สนุกสนานและสามารถนำไปใช้ได้จริงในโครงการฯ ภายหลังจากนั้นได้มีพิธีมอบวุฒิบัตรและปิดโครงการฯโดย พระเดชพระคุณพระราชวรมุนี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้กล่าวขอบคุณและเน้นย้ำอีกครั้งถึงภารกิจสำคัญในการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา

จากการสัมมนาหัวหน้าหน่วยอบรมทั่วประเทศนำไปสู่การลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามโครงการที่กำหนดไว้ผลการดำเนินงานหัวหน้าหน่วยโครงการสามารถนำไปใช้ในการบริหารโครงการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เยาวชนรู้จักโทษของสิ่งเสพติด รู้จักหน้าที่พลเมืองที่ดี มีระเบียบวินัย และใฝ่ใจในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ ถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา มีความรู้ ความเข้าใจและความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีของชาติ มีรายละเอียดตามตารางแสดงจำนวนผู้เข้าร่วม ดังนี้

 

                         ตารางที่ ๑ แสดงจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
ที่ รายการ จำนวนรูป/คน ร้อยละ
พระภิกษุ ๑,๕๔๙
สามเณร ๓๒,๙๕๐ ๓๔
ศีลจาริณี ๓,๒๕๙
เยาวชน ๑๘,๙๔๙ ๒๐
ประชาชน ๓๕,๒๙๗ ๓๗
วิทยากร ๔,๓๙๔
รวม ๙๖,๓๙๘ ๑๐๐
 

 

แผนภูมิที่ ๑ แสดงจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ๒๕๕๙

 

๑.๓.๑ ความคิดเห็นของสามเณรและเยาวชนในโครงการ

       (๑) เหตุผลของการเข้ามาบวชในโครงการ

เมื่อสอบถาม และสังเกตพฤติกรรมของสามเณรและเยาวชนความคิดเห็นในหลาย กลุ่ม ๆ ที่เข้าอบรมในโครงการเข้ารวมโครงการส่วนใหญ่มีศรัทธาในการบวชเป็นพื้นฐานในการเข้าบรรพชาและทั้งนี้อาจเป็นช่วงทางโรงเรียนได้ปิดภาคเรียน โดยส่วนมากเด็กและเยาวชนในต่างจังหวัดไม่ได้ทำอะไรจึงมีความสนใจในกิจกรรมการบวช และต้องการเข้าร่วมโครงการ นอกจากนั้นอาจเป็นเพราะได้รับการปลุกเร้าจากบิดามารดาและญาติ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ตลอดจนคนในสังคม ทำให้เยาวชนมีความต้องการจะเข้าบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการแสวงหาความรู้ในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงทำให้เยาวชนมีความศรัทธาในการบวชในโครงการฯ ส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ดี ประพฤติดี ตามหลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนาและสอนให้เยาวชนได้รู้จักโทษของอบายมุขและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในระหว่างปิดภาคการศึกษา  สามเณรและเยาวชนที่เข้าอบรมในโครงการที่มีศรัทธาในการบวช ส่วนใหญ่จะมีความสอดคล้องกัน เป็นความเห็นในเชิงบวก เมื่อสอบถามแล้วในประเด็นเหตุของการเข้ามาบวช ส่วนใหญ่ พบว่า เป็นความประสงค์ของผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรได้มีโอกาสใกล้ชิดพระศาสนา รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ประกอบกับเป็นวัดที่อยู่ใกล้ชุมชนเมื่อวัดมีโครงการจึงสนับสนุนให้บุตรเข้ามาบวชเป็นสามเณร นอกจากนั้นยังมีกลุ่มที่ตัดสินใจบวชเองเหตุผลเพราะอยากมีประสบการณ์และเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ หลายรูปเข้ามาบวชเพราะทางโรงเรียนมีโครงการร่วมกับทางวัดและมีพระวิทยากรที่รู้จักและชื่นชมในความรู้ความสามารถของวิทยากร

(๒)  ความกตัญญูกตเวที

เมื่อสอบถามและสังเกตพฤติกรรมของสามเณรและเยาวชนที่เข้าอบรมในโครงการความคิดเห็นในหลายกลุ่ม ๆที่เข้ารวมโครงการส่วนใหญ่ที่บวชโครงการและบวชในพระพุทธศาสนามีความเห็นสอดคล้องกันทั้งหมด คือ มีความกตัญญูกตเวที ในการบวชเพื่ออุทิศแก่บรรพชนต่อพระรัตนตรัยและสนองคุณของบิดามารดา อาจเป็นรากฐานความเข้าใจในจารีตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ถือปฏิบัติกันสืบมา จึงทำให้เยาวชนเหล่านั้นมีจิตสำนักในพระพุทธศาสนาจึงพบว่ามีความคิดเห็นลักษณะสอดคล้องกันในความคิดเห็นของสามเณรและเยาวชนที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาและส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ดี ประพฤติดี ตามหลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งสอนให้เกิดความภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ  จากความคิดเห็นของกลุ่มสามเณรและเยาวชนที่เข้าอบรมในโครงการมี ความกตัญญูกตเวที

(๓) ความเป็นผู้มีระเบียบวินัย

จากความคิดเห็นของสามเณรและเยาวชนที่เข้าอบรมโครงการในเรื่องความเป็นระเบียบ พบว่า มีความคิดเห็นในเรื่องของ ความเป็นระเบียบวินัยที่สอดคลองกันจากการสังเกตพฤติกรรมของสามเณรและเยาวชนความคิดเห็นในหลายกลุ่มๆที่เข้ารวมโครงการส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการส่งเสริมให้สามเณรและเยาวชนมีระเบียบวินัย  ให้ทำงานอย่างมีระบบ ให้ควบคุมตนเองได้ ให้นึกถึงสิ่งดี – ชั่ว ให้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ ให้เชื่อฟังพระอาจารย์และพระพี่เลี้ยง ให้ปฏิบัติศาสนกิจทุกวันและให้ดูแลสิ่งแวดล้อม และรู้จักประหยัดและมัธยัสถ์ เมื่อได้เข้ามาบวชได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนของศาสนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน คิดเห็นระบบ และได้พบว่ามีความคิดเห็นลักษณะสอดคล้องในของสามเณรและเยาวชนที่เข้ามาบวชในโครงการมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักหน้าที่ มีระเบียบวินัย ใฝ่ใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

(๔) การมีสัมมาคารวะ

จากความคิดเห็นของสามเณรและเยาวชนที่เข้าอบรมในโครงการเมื่อพิจารณาจากการสอบถามสัมภาษณ์ความคิด สังเกตพฤติกรรมที่กล่าวถึงเรื่องการมีสัมมาคารวะ พบว่า มีความคิดเห็น อันได้แก่ การมีความสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี การแสดงความเคารพต่อ ศาสนสถาน การแสดงความเคารพพระอาจารย์และครูที่สอนขณะที่ศึกษาพระธรรมวินัย การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย การบอกล่าวอาจารย์ เมื่อออกจากวัด การรับผิดชอบต่อหน้าที่ได้รับมอบหมาย การปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติตามระเบียบของวัด และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น พร้อมทั้งการรักษาศีลอย่างเคร่งครัดของเยาวชนที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดีจึงทำให้ผู้บวชมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติเป็นอย่างดี  ซึ่งก็อยู่ในเกณฑ์ความพอใจต่อการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของเยาวชนในการส่งเสริมให้เรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

(๕)การใช้ชีวิตร่วมกันในโครงการ

จากความคิดเห็นของสามเณรและเยาวชนที่เข้าอบรมในโครงการเมื่อพิจารณาจาการสอบถามสัมภาษณ์การสังเกตพฤติกรรมของเยาวชนที่เข้าอบรมโครงการมีความคิดเป็นที่สอดคล้องกัน คือ การใช้ชีวิตร่วมกันในโครงการการปลอบใจและให้กำลังใจเพื่อน การยกย่องชมเชยกันเมื่อปฏิบัติดี การดูแลอุปัฏฐากพระอาจารย์ การเอาใจใส่ในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย การรักษาสาธารณประโยชน์การเสนอแนะเพื่อนในทางที่ดี การช่วยเหลือกิจกรรมของวัด และการบอกกล่าวตักเตือนเพื่อนในทางที่ควร เป็นการให้ความสำคัญในเรื่องความมีน้ำใจสูง เพราะได้รับการฝึกอบรมทางด้านจริยธรรมและคุณธรรมอย่างดีจากผู้รับผิดชอบโครงการและได้รับความเอาใจใส่จากพระอาจารย์พี่เลี้ยงเป็นอย่างดี จึงทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกเชิงจริยธรรมที่ดี การแบ่งปันลาภสักการะที่เกิดขึ้นในระหว่างบวชอยู่ก็เป็นอีกปัจจัยของพระพี่เลี้ยงที่คอยให้ความเอาใจใส่ดูแล และการให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่าความเป็นผู้มีน้ำใจสอดคล้องต่อการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของเยาวชนในการส่งเสริมให้เรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

(๖) การได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าประพฤติดี  และการปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

จากความคิดเห็นของสามเณรและเยาวชน เมื่อพิจารณาจาการสอบถามสัมภาษณ์การสังเกตพฤติกรรมของเยาวชนที่เข้าอบรมโครงการมีความคิดเป็นที่สอดคล้องกัน คือ การได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าประพฤติดี  ปฏิบัติถูกต้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  รู้จักหน้าที่ตนเอง  ตั้งใจปฏิบัติตามระเบียบวินัย   และใส่ใจในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม การได้รู้จักหน้าที่ตนเอง  ตั้งใจปฏิบัติตามระเบียบวินัย   และใส่ใจในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมได้ความสามัคคีในหมู่คณะเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสุดท้ายได้เรียนรู้การแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

๑.๓.๒ ปัญหาและอุปสรรค

(๑)   งบประมาณจากมหาวิทยาลัยให้น้อยไม่เพียงพอในการดำเนินการ

(๒)   ภาครัฐในส่วนภูมิภาคบางแห่งไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อน

(๓)   เด็กเยาวชนขาดทักษะในการเขียนและเบื่อการบรรยายธรรมะ

(๔)   ได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลน้อยลง

(๕)   เด็กที่เข้าร่วมโครงการอ่านหนังสือไม่ค่อยออก เขียนหนังสือไม่ค่อยถูก ขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่

(๖)   ส่วนราชการในแต่ละแห่งให้การสนับสนุนโครงการฯ ด้านงบประมาณแต่มักให้หลังจากโครงการเสร็จสิ้นทำให้ประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่ายระหว่างโครงการ

(๗)   บางหน่วยอบรมอยู่ห่างไกลการติดต่อประสานงานไม่ค่อยได้รับความสะดวกเพราะหน่วยอบรมบางหน่วยตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร

(๘)   จำนวนเด็กที่เข้าบรรพชาไม่ได้ตามเป้าหมายเท่าที่ควรเพราะมีผลจากโครงการคณะสงฆ์อีกต่างหาก

(๙)   โรงเรียนบางท้องที่ให้ความร่วมมือน้อยลง

(๑๐) โครงการมีเด็กเข้ามาสมัคเป็นจำนวนมากทางวัดไม่สามารถรับผู้สมัครได้ทั้งหมด

(๑๑) มีจำนวนผู้เข้าบรรพชา  และศีลจาริณีมากเกินจำนวนจริงทำให้ขาดแคลนอุปกรณ์บวช

(๑๒) ขาดทุนทรัพย์ในการซื้อเครื่องนุ่งห่ม ของสามเณรและเยาวชน

(๑๓) ทางโรงเรียนให้การสนับสนุนน้อยมากแต่มักส่งเด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนเข้ามารับการอบรมและบรรพขาซึ่งไม่ใช้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ ดังนั้น สถานศึกษาโรงเรียนควรปรับปรุงกับตัวเยาวชนเองควรมุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนรวมทางวิชาการ และการสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคม

(๑๔) ผู้ปกครองให้การเสริมและสนับสนุนน้อยลง

(๑๕) เด็กส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเล่นเกมไม่สนใจการอบรม

(๑๖) ปัญหาทางด้านสถานที่ที่ไม่เหมาะสม

(๑๗) ปัญหาการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง

 

๑.๓.๓ ข้อเสนอแนะในการจัดโครงการฯ

(๑) ควรกำหนดโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนที่เป็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาค

(๒) กำหนดนโยบายร่วมกับระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

(๓) กำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน เพื่อกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการในแต่ละปีให้ชัดเจน

(๔) กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้ามาบรรพชาและอบรมให้ชัดเจนว่ากลุ่มไหนที่บวชต่อเพื่อศึกษาเล่าเรียนในแต่ละแผนกที่ต้องการเช่น แผนกนักธรรมและบาลี แผนกพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์

(๕) จัดการสัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์โครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน

(๖) ควรจัดให้มีการอบรมพระวิทยากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฯให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมและสามารถบริหารศรัทธาและบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกเหนือจากการอบรมหัวหน้าหน่วยโครงการฯ

IMG_1055 IMG_1056 IMG_1060 IMG_1079 IMG_1080 IMG_1081